เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับคนรักเปตอง

เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับคนรักเปตอง
 เทคนิคการเลือกลูกเปตอง

                     

   การเล่นกีฬาเปตอง อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด คือ ลูกบูล (Boule) หรือ ลูกเปตอง เนื่องจากลูกเปตองแต่ละลูก แต่ละประเภทมีความแตกต่างหลากหลายจะอธิบายได้ต่อไปนี้

1. ขนาด
  ขนาดของลูกเปตองตามกติกาสากลกำหนดนั้นมีเส้นผ่านศูนย์ กลางตั้งแต่ 70.05  มิลลิเมตร  ไปจนถึง 80 มิลลิเมตร (ตามความจริงมีขนาด 71 - 80 มิลลิเมตร) ขนาดของลูกเปตองที่แตกต่างกันย่อมเหมาะสมกับมือของแต่ละคนว่าใช้เปตองขนาดใด โดยทั่วไปการเล่นลูกใหญ่กว่าจะได้เปรียบกว่าในการวัดคะแนน อย่างไรก็ดีในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเล่นกันอยู่ที่ขนาด 71 หรือ 72 มิลลิเมตรซึ่งถือว่าเล็ก

2. น้ำหนัก
  ลูกเปตองที่มีน้ำหนักมากกว่าจะบังคับให้หยุดหรือไหลไป ได้มากกว่า เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ประกอบกับลูกเปตองที่หนักกว่าจะเคลื่อนที่บนพื้นได้ดีกว่าเนื่องจากน้ำหนัก จะถ่วงไม่ให้ลูกกระโดดมากจนเกินไปเมื่อพบสิ่งกีดขวาง

3. ลวดลาย
  ลวดลายบนลูกเปตองมีความหลากหลาย ตั้งแต่ลูกเรียบ ลูกลายเดี่ยว ลายคู่ ลายสาม จนไปถึงลายรังผึ้ง (ลายสิบ) ทั้งรูปแบบของลวดลายก็มีความแตกต่างกันด้วย ลวดลายของลูกเปตองจะช่วยในการควบคุมลูกเปตอง ลูกที่มีลายมากกว่าจะเคลื่อนที่บนพื้นผิวสนามได้ดีกว่า เรียกว่าเกาะสนามได้ดีกว่า และจะดูดมือกว่าลูกเรียบ

4. ความแข็ง
  ความแข็งของลูกเปตองนั้นหลัก ๆ แยกได้เป็นแบบแข็งและอ่อน มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร ลูกที่มีความแข็งอยู่ที่ระดับ 110 kg/mm2  เรียกว่าลูกที่อ่อนหรือนิ่มมาก เหมาะสมกับสภาพสนามที่แข็ง ลูกที่มีความแข็งอยู่ที่ระดับ 115 - 120 kg/mm2  เรียกว่าลูกกึ่งนิ่ม เหมาะสมกับสนามที่แข็งจนถึงเกือบแข็ง ลูกที่มีความแข็งอยู่ที่ระดับ 130 - 140 kg/mm2  เรียกว่าลูกแข็ง เหมาะสมกับสภาพสนามที่นิ่มเรียบ จนถึงกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง

   การจะพิจารณาเลือกลูกเปตอง นอกจากให้มีความเหมาะสมกับสรีระของตนแล้ว ยังขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเล่นของตนด้วย

มือตี หรือ มือยิง 
  ควรเลือกลูกที่ขนาดใหญ่ (72 mm ขึ้นไป) น้ำหนักเบา (ไม่เกิน 690 g) ลวดลายน้อย (0 หรือ 1) และความแข็งน้อย

มือวาง หรือ มือเข้า หรือมือเกาะ
   ควรเลือกลูกที่มีขนาดเล็ก (71 - 72 mm) น้ำหนักมาก (690 g ขึ้นไป) ลวดลายมาก (1 ขึ้นไป) ความแข็งแล้วแต่สภาพสนาม

   เนื่องจากในการแข่งขัน นักกีฬาสามารถใช้ลูกเปตองของตนเองได้ ดังนั้นจึงควรมีลูกเป็นของตนเองเพื่อความเคยชินอย่างน้อย 1 ชุด (3 ลูก) และควรเป็นลูกที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติ (อ่านได้ในกติกาการเล่นเปตอง) ก่อนการเลือกซื้อลูกเปตองควรทำการศึกษาให้ดี เนื่องจากลูกเปตองมีราคาค่อนข้างสูง (ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อ) เพื่อเลือกลูกเปตองให้เหมาะสมกับตนเองที่สุด
ยี่ห้อที่ใช้กันเป็นสากลและถือว่าได้มาตรฐานประกอบด้วย 

Obut (โอบุท)
JB (เจบี)
La Boule Noire
Int?grale (อังเตกรัล)
La Boule Bleu
Okaro
MS (เอ็มเอส)
(เรียงตามลำดับความนิยม)

   ส่วนในประเทศไทยนิยมใช้ Obut มากที่สุด บ้างก็ใช้ Int?grale
ระยะหลังมีการใช้ลูกยี่ห้อ La Franc Boule (ลาฟรองค์บูล), FBT (เอฟบีที), Plus Tong (พลัส-ตอง) และ Marathon (มาราธอน) ซึ่งเหล่านี้มีราคาย่อมเยาว์กว่าโดยยี่ห้อที่กล่าวเพิ่มเติมนี้บางยี่ห้อทาง สมาพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยฯ อนุโลมให้ใช้ในการแข่งขันได้ แต่ในระดับสากลยังไม่ได้รับการรับรอง

วิธีการจับลูกเปตอง 
   การจับลูกส่วนใหญ่นักกีฬาเปตองที่เริ่มเล่นเปตองใหม่ๆ โดยที่ไม่มีโค้ชลอยแนะนำหรือมีโค้ชก็แล้วแต่มักจะจับลูกเปตองตามความถนัดมิ ได้จับลูกเปตองโดยหลักการ บางคนก็โชคดีที่บังเอิญไปจับลูกถูกกับสรีระตัวเองเข้าก็เลยเล่นเปตองได้ดี การจับลูกเปตองในลักษณะคว่ำมือนั้นมีอยู่ 4 วิธีด้วยกันคือ
  1 จับลูกเปตองแบบ 4 นิ้ว โดยไม่ใช้นิ้วโป้งสัมผัสกับลูก การจับลูกในลักษณะนี้จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นมีนิ้วที่ยาวและแข็ง แรงที่สามารถจะจับลูกเปตองได้เกินครึ่งลูกขึ้นไป
ถ้าบุคคลใดมิได้มีคุณสมบัติที่กล่าวมาในเบื้องต้นก็ให้ใช้แบบที่ 2 ต่อไป

  2 การจับลูกในลักษณะใช้นิ้วทั้ง 5 นิ้ว สัมผัสลูกเปตองพร้อมๆ กันการจับลูกเปตองในลักษณะนี้จะทำให้การจับเกิดการกระชับมากขึ้นกว่าแบบ ที่1ก็เพราะว่านิ้วโป้งเป็นนิ้วที่แข็งแรงที่สุดเมื่อถูกนำมาใช้งานจะทำให้ บุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้นและเล็กสามารถเล่นเปตองได้ดีขึ้น การจับลักษณะนี้ให้นิ้วโป้งอยู่ใกล้นิ้วชี้ให้มากที่สุด

  3 การจับในแบบที่ 2 ถ้าผู้เล่นยังไม่สามารถที่จะเล่นเปตองได้ทุกระยะก็ให้หันมาจับแบบที่ 3 ต่อไป การจับแบบที่ 3 นี้ให้ผู้เล่นถ่างนิ้วโป้งออกมาให้อยู่ตรงข้ามกับนิ้วกลาง หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า
จับแบบคีบการจับในลักษณะนี้จะใช้กำลังจากนิ้วโป้งเป็นหลัก
  4 การจับลูกในลักษณะของการขยุ่ม การจับลักษณะนี้ผู้เล่นจะถ่ายนิ้วออกทุกนิ้วโดยไม่ให้นิ้วติดกันการจับแบบ นี้จะใช้กับบุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้น และมีมือที่เล็กมากๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับเด็กเล็กๆ
เช่น เด็กอนุบาล หรือเด็กประถม เป็นต้น

การบริหารร่างกายก่อนและหลังการฝึกก่อนการเล่น
  การบริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬาทุกคน และต้องปฏิบัติเป็นประจำ ก่อนและหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่าง ๆ ของร่างกายตื่นตัว ระบบประสาทมีความฉับไวในการรับคำสั่งจากสมอง ไม่เกิดอาการเฉื่อยชา ระบบการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ปอดมีการขยายตัว ทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงทนทานพร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อมได้
หลังการเล่น
   หลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความตึงเครียด และเสียพลังงานไปเป็นจำนวนมาก การบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อม เช่น บีบ นวด กด จับ ทุกสลับกันไป จะเป็นการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเมื่อยล้า และนอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบภายในส่วนต่าง  ๆ ของร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น